การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเป็นความคิดเห็นของเจ้าของบทความ โดยกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และเจ้าของบทความยินดีให้บทความ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ Peer review จำนวน 3 ท่าน ที่กองบรรณาธิการพิจารณาแล้ว เห็นควรอ่านพิจารณาบทความนั้นๆ เป็นการตรวจประเมินแบบ Double blinded โดยที่ผู้ตรวจไม่ทราบข้อมูลผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบข้อมูลผู้ตรวจด้วย

คำแนะนำผู้แต่ง

การเตรียมต้นฉบับเพื่อการเสนอจัดพิมพ์ในวารสารปารมิตา

1. ขอบเขตของเนื้อหาบทความ

เนื้อหาเป็นบทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับขอบข่ายนี้ บรรณาธิการบริหารอาจไม่พิจารณารับตีพิมพ์ได้

2. การประเมินบทความ

  • ใช้ Peer-review ประเภท Double Blinded โดยที่ผู้ประเมินไม่ทราบข้อมูลของผู้เขียน และผู้เขียนไม่ทราบข้อมูลของผู้ตรวจประเมินบทความของตน
  • ในแต่ละบทความมีผู้เชี่ยวชาญเป็น Peer-review ที่เกี่ยวกับสาขาวิชาและเนื้อหาของบทความ จำนวน 2 คน

3. คำทำเนียมการเผยแพร่ในวารสาร

สืบเนื่องจากวารสารปารมิตาได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก TCI ดังนั้น ตั้งแต่ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ทางกองบรรณาธิการปารมิตาจังได้มีมติความเห็นร่วมกันให้เรียกเก็บค่าทำเนียมการเผยแพร่ บทความละไม่เกิน 3,000 บาท

ทั้งนี้ การเรียกเก็บจะเกิดขึ้นหลังจากเผยแพร่บทความในระบบออนไลน์แล้วเท่านั้น

4. ขนาดของต้นฉบับ

พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษสั้นขนาด A4 โดยเว้นระยะระหว่างขอบกระดาษด้านบน 3.81 ซม. ด้านขวากับด้านล่าง 2.54 ซม.

5. รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง

ใช้รูปแบบอักษร TH Sarabun PSK พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยใช้ขนาดและชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการวางตำแหน่งดังนี้

5.1 ขนาดกระดาษ จัดพิมพ์บทความด้วยกระดาษ ขนาด A4 พร้อมระบุเลขหน้า ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวาและซ้ายตามรูปแบบการจัดหนังสือทั่วไป

5.2 ชื่อเรื่องภาษาไทย ขนาด 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ

5.3 ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่ ขนาด 14 ชนิดตัวหนา ตัวพิมพ์เล็ก ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ

5.4 ชื่อผู้เขียน ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา ใต้ชื่อเรื่อง โดยให้ใส่ทั้งชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมระบุอีเมลด้วย

5.5 ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียน ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา ใต้ชื่อผู้เขียน โดยให้ใส่ที่อยู่หรือหน่วยงานทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5.6 หัวข้อบทคัดย่อไทยและอังกฤษ ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ใต้ที่อยู่หรือหน่วยงานสังกัดของผู้เขียน โดยหัวข้อบทคัดย่อไทยและหัวข้อบทคัดย่ออังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตัวพิมพ์ใหญ่

5.7 เนื้อหาบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา จัดพิมพ์ไม่ควรเกิน 3 ย่อหน้า บรรทัดแรกเว้น 1 แท็บ (Tab) จากขอบกระดาษด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน

5.8 คำสำคัญภาษาไทย ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ ใต้บทคัดย่อภาษาไทย และคำสำคัญนี้ไม่ควรเกิน 3 ศัพท์ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา

5.9 คำสำคัญภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดซ้ายหน้ากระดาษ ใต้บทคัดย่อภาษาอังกฤษ และคำสำคัญนี้ไม่ควรเกิน 3 ศัพท์ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา

5.10 หัวข้อเรื่อง ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย ระบุหมายเลขข้อ

5.11 หัวข้อย่อย ขนาด 16 ชนิดตัวหนา ระบุหมายเลขข้อย่อย โดยเรียงตามลำดับตามเลขหัวข้อเรื่องเป็นหลัก

5.12 เนื้อหา ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการ ให้มีองค์ประกอบเริ่มตั้งแต่บทนำหรือความนำ เนื้อหาหลัก วิเคราะห์และสรุป บรรณานุกรม ส่วนบทวิจารณ์หนังสือ ให้มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้วิจารณ์ บทวิจารณ์ สำหรับงานสร้างสรรค์ประเภทอื่นๆ ให้มีองค์ประกอบตามบทความวิจัยและบทความวิชาการ

6. การอ้างอิง

ให้มีการอ้างอิงในท้ายบทความ จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ภายใต้หัวข้อเอกสารบรรณานุกรม สำหรับบทความภาษาไทย หรือ References สำหรับบทความภาษาอังกฤษ โดยให้ใช้รูปแบบการเขียนแบบ APA V.6 (American Psychological Association) ตัวอย่างการเขียนมีดังนี้

หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์. ผู้จัดพิมพ์.

ตัวอย่าง

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
Potter, M.E. (1990). The Competitive advantage of nations. New York: Free Press.

บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่หรือเล่มที่/(ฉบับที่ (ถ้ามี)),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

มะลิวรรณ โคตรศรี. (2548). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิจัยและวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 3(1), 32-48.

Foster, W.P. (2004). The decline of the local a challenge to educational leadership. Education Administration Quarterly, 40(2), 176-191.

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย

ชื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย/(ปีที่พิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์และสารนิพนธ์./ระดับวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์และสารนิพนธ์,/ชื่อสาขาวิชา,/คณะ,/ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

นพพร ไทยเจริญ. (2549). การสร้างชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ดินและหินในท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Shim, W. J. (1996). Contamination and bioaccumulation of tributyltin and triphenyltincompounds in the Chinhae Bay system, Korea. Master's thesis, Department of Oceanography, Seoul National University.

บทความจากเว็บไซต์ (Web Site)

ชื่อผู้แต่ง./ชื่อบทความ./แหล่งที่มา/วัน/เดือน/ปี.

ตัวอย่าง

พรรณี บัวเล็ก. พัฒนาการทุนนิยมในประเทศไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://research. krirk.ac.th/pdf. [25 December 2019]

7. จำนวนหน้าต้นฉบับ

เนื้อหาของบทความตั้งแต่หัวข้อเรื่องจนถึงบรรณานุกรมควรมีความยาวไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ ขนาด A4

บทความวิจัย

เนื้อหาเป็นบทความวิจัยในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับขอบข่ายนี้ บรรณาธิการบริหารอาจไม่พิจารณารับตีพิมพ์ได้

บทความวิชาการ

เนื้อหาเป็นบทความวิชาการในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับขอบข่ายนี้ บรรณาธิการบริหารอาจไม่พิจารณารับตีพิมพ์ได้

บทวิจารณ์หนังสือ

เนื้อหาเป็นบทวิจารณ์หนังสือที่เขียนเกี่ยวกับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมโดยเน้นด้านานพระพุทธศาสนาและปรัชญา สหวิทยาการด้านการศึกษา และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หากมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับขอบข่ายนี้ บรรณาธิการบริหารอาจไม่พิจารณารับตีพิมพ์ได้
ไม่ต้องเขียนบทคัดย่อเพิ่มได้

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.