สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา HU 2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระมหาสมัคร มหาวีโร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สภาพและปัญหา, การสนทนาภาษาอังกฤษ, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา HU 2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 ด้านกระบวนการการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์  ด้านสื่อการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการวัดผลและประเมินผล 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา HU 2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชา HU 2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 จำนวน 27 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถามสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอน 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์  ด้านสื่อการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการวัดผลและประเมินผล สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา HU2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 ในภาพรวม ด้านการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 S.D. .263 เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านสื่อประกอบการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ และกระบวนการการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ 2) ระดับปัญหาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา HU 2002 การสนทนาภาษาอังกฤษ 2 ในภาพรวม ด้านปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.49 S.D. .455 เรียงลำดับดังนี้ กระบวนการการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อประกอบการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลิกภาพของอาจารย์ และด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับน้อยที่สุด ด้านกระบวนการการสอนและเทคนิคการสอน และด้านสื่อประกอบการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอน อยู่ในระดับน้อย  ส่วนผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 มีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุดทั้งในภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.49

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กรมวิชาการ. (2539). หลักสูตรภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2539. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตาม หลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กุสุมา ล่านุ้ย. (2539). การสร้างเจตคติในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสารศึกษาศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). ความคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด.

เจษฎาภรณ์ เหลืองขมิ้น. (2541). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความคงทนในการจําคําศัพท์ภาษาอังกฤษจากวิดีทัศน์ที่มีพื้นหลังภาพต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทัศนีย์ สัตยมาศ. (2547). การศึกษาสภาพบัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 3 ของโรงเรียนระยองวิทยาคม จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาสาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมณี และคณะ. (2552). การนำเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิต นักศึกษาครูระดับปริญญาตรี สำหรับหสักสูตรครุศึกษา. รายงานการวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญชา อึ๋งสกุล. (2541). การส่งเสริมสร้างการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน. วารสารวิชาการ.

บันลือ พฤษะวัน. (2525). คู่มือครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา (มนุษย์กับการเรียนรู้). นนทบุรี.

ปัญญา ดำสุวรรณ. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดประถมศึกษา จังหวัดสระแก้ว. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระปริพัฒน์ นาคา. (2544). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนพระปริยํติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2530). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 1-6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริเพ็ญ มากบุญ. (2541). แต่ผู้เบิกทางแห่งปัญญา. คุรุสารเทพสตรี.

สุเทพ อ่อนไสว. (2541). องค์ประกอบของการเรียนการสอน. คุรุสารเทพสตริ.

Brown, H. Douglas. (1981). Effective Factors in School Language Learning, in the Second Language Classroom: Direction for the 1980. New York: Oxford University Press.

Gagne, R. M. (1985). The Condition of Learning. New York: Holt, Rinchart and Winston.

Little wood, William T. (1990). Foreign and Second Language Learning. New York: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26