ศึกษาศิลปะไทยตามแนวพุทธศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระสุริยะ ปภสฺสโร วัดนครอินทร์ นนทบุรี
  • พระกิติคุณ สิริคุโณ วัดป่าศรีถาวร นครปฐม
  • เธียรไท รักคง นักวิชาการอิสระ ด้านวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา
  • นันท์มนัส นาคจินวงษ์ นักวิชาการอิสระ ด้านวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา
  • พรทิพย์ พฤทธ์กิตติวงศ์ นักวิชาการอิสระ ด้านวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา

คำสำคัญ:

ศิลปะไทย, พุทธศาสตร์, ความงาม

บทคัดย่อ

ศิลปะเป็นเรื่องความงาม สามารถสร้างความตื่นตาตื่นใจจนเกิดอาการตะลึงงัน สะกดใจให้เกิดความลุ่มหลง อยากชิดใกล้ ใคร่ครอบครอง อีกประการหนึ่ง ศิลปะสามารถเป็นสื่อให้เข้าถึงความดีและความจริงได้คือบันดาลใจให้เกิดศรัทธาในสิ่งดีงาม น้อมใจให้เกิดความสงบ เกิดกำลังใจใฝ่ฝันอย่างมั่นคงในอุดมคติ อีกทั้งสามารถเปิดเผยความจริงของชีวิตให้ประจักษ์ รู้เท่าทันมายาจนละวางได้ ศิลปะชั้นครูสามารถยกจิตสู่สภาวะเหนือโลกเหนือสามัญคือสภาวะที่จิตได้สัมผัสกับความจริงขั้นสูงสุดหรือปรมัตถ์ ความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและจักรวาล สภาวะที่อัตตาตัวตนได้เลือนหาย ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างฉันกับโลก อยู่เหนือสมมติบัญญัติ

References

กรมศิลปากร. (2539). การดูแลรักษาศิลปโบราณวัตถุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

โกสุม สายใจ. (2560). พุทธศิลป์กับการจัดการความรู้ Buddhism Art and Knowledge Management.

มโน พิสุทธิรัตนานนท์. (2547). สุนทรียวิจักษณ์ในจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สันติ เล็กสุขุม. จิตรกรรมแบบประเพณีและแบบสากล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). ศิลปะ สุนทรียภาพ กับความเป็นมนุษย์. จาก http://www.thaihealth.or.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-23