ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ส่งเสริมต่อธรรมาธิปไตยตามหลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระดิเรก ธมฺมวโร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ธรรมาธิปไตย, หลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ, หลักจักรวรรดิวัตร 12

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักธรรมที่ส่งเสริมต่อธรรมาธิปไตยตามหลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ ผู้วิจัยมีความประสงค์จะศึกษา 1) ความหมายและเนื้อหาของธรรมาธิปไตยตามหลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ 2) หลักธรรมที่ส่งเสริมต่อธรรมาธิปไตยตามหลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ 3) วิเคราะห์คุณค่าหลัก ธรรมที่ส่งเสริมต่อธรรมาธิปไตยตามหลักรัฐศาสตร์แนวพุทธ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ฉบับซีดีรอมและอรรถกถา เอกสารผลงานวิจัยของนักวิชาการ ตลอดจนผลงานของผู้รู้ในทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) คำว่าธรรมาธิปไตยคือหลักคุณธรรมสำคัญที่ผู้บริหารต้องนำไปใช้ปกครองตน ครองคน ครองงานเพื่อสร้างสันติภาพและเสถียรภาพที่ถาวร เนื้อหาธรรมาธิปไตยมาจากเรื่องอธิปไตย 3 ในพระไตรปิฎก คำว่าอธิปไตยหมายถึงความเป็นใหญ่ด้วยความดีความถูกต้อง สัจจะความซื่อตรงไม่เอนเอียงเป็นสำคัญ 2) หลักความซื่อตรงพระพุทธองค์ทรงสอนอย่างสมบูรณ์ในหลักทศพิธราชธรรม 10 ถือเป็นหัวใจในการขับ เคลื่อนหลักธรรมาธิปไตย หลักจักรวรรดิวัตร 12 เป็นคุณธรรมของผู้นำระดับโลก อปริหานิยธรรม 7 มุ่งรักษาความสามัคคีของคณะผู้ปกครอง หลักราชสังคหวัตถุ 5 เน้นการบริหารและสงเคราะห์พร้อมกัน หลักอคติ 4 เพื่อรักษาตัวของผู้ปกครองชนะใจของประชาชนทุกระดับ ธรรมดังกล่าวเป็นทั้งหลักการและวิธีการเพื่อรักษาสภาพธรรมาธิปไตยตามหลักพุทธศาสตร์ไว้ได้โดยสมบูรณ์ 3) หลักธรรมมีคุณค่าต่อนักปกครองและผู้ใต้ปกครองทุกด้าน เช่น ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านมวลชนสัมพันธ์ ด้านวัฒนธรรมสูงส่ง และด้านการักษาสันติภาพโลก ผู้นำสูงสุดต้องพัฒนาตนให้ดีงามตามสาระธรรมนี้ให้ได้เสียก่อน ผู้ตามคือประชาชนทั่วไปเมื่อเห็นตัวอย่างแล้วเกิดศรัทธายอมรับและปฏิบัติตามทันที เมื่อนำหลักธรรมาธิปไตยทั้งหมดไปใช้อย่างสมบูรณ์แล้ว สังคมนั้นจักมีแต่การสงเคราะห์เกื้อหนุนกัน ไม่ทอดทิ้งซึ่งกันและกัน มวลชนทุกภาคส่วนมีความสามัคคีไม่แตกแยก เกิดวัฒนธรรมความดีงามในองค์กรและสันติภาพถาวรย่อมเกิดขึ้น จักไม่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่วิกฤตศรัทธา ไม่เกิดกลียุคทั่วโลกอย่างแน่นอน

References

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล. (2530). พระไตรปิฎก. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เฉลิมชาญการพิมพ์.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. สุชีพ ปุญญานุภาพ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2550). รัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดิลก พูนสวัสดิ์ น.พ. (2547). คู่มือชีวิตและการพัฒนาจิตวิญญาณ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สมูธเพรส.

บันเทิง พาพิจิตร. (2547). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

บัญชา เนตินันทน์ พล.ต.อ. (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์). พระสุตตันตปิฎกฉบับย่อ เล่ม 12-25. นครปฐม : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2550). ทรรศนะทางการเมืองของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทสามัคคีสาส์น จำกัด.

ประมวล รุจนเสรี. (2548). การใช้อำนาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพัฒนาแผ่นดิน.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2550). พระพุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ บริษัทแปดสิบเจ็ด (2545.

พระราชภาวนาวิริยคุณ. (2547). รัฐศาสตร์เชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2538). จรรยาบรรณของข้าราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2541). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 7.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2535). ธรรมปริทรรศ์ 2. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 3.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 11.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2534). ธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พรศิวการพิมพ์.

พระภาวนาวิริยะคุณ. (2546). รัฐศาสตร์เชิงพุทธ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กราฟฟิคอาร์ตพริ้นติ้ง จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, พิมพ์ครั้งที่ 3.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). การศึกษากับการวิจัยเพื่ออนาคตประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก.

มนูญ วงศ์นารี. (2538). หลักธรรมกับการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา.

วศิน อินทสระ เรียบเรียง. (2533). พระสุตตันตปิฎกอังคุตรนิกาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

สามารถ พงศ์ไพบูลย์ และคณะ. (2521). คู่มือเตรียมสอบไล่ ม. 3 สอบเข้า ม. 4. นนทบุรี : สำนักพิมพ์เนรมิตการพิมพ์.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2550). นวโกวาท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ 80.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2514). พจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนา ไทย-อังกฤษ และ อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เกษมบรรณกิจการพิมพ์.

อานนท์ อาภาภิรม. (2545). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์, พิมพ์ครั้งที่ 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-20