คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองตามทัศนะของประชาชน ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสุทัศน์ ยโสธโร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์, นักการเมือง, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองตามทัศนะของประชาชน ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองตามทัศนะของประชาชนตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองตามทัศนะของประชาชนตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่หาได้โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) จำนวน 390 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ เชฟเฟ่ (Scheff?) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า 1. ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลนาเกลือมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.20 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และในระดับมาก คือ ด้านจริยธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.53 ด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ย 4.05 ด้านบุคลิกภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.03 ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่า ประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมือง โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ไม่แตกต่างกัน แต่ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนอกนั้นไม่พบความแตกต่าง 3. ประชาชนได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สำคัญ คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ ขาดความสุภาพเรียบร้อยในการแสดงออกขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชน ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส ความเป็นกันเองกับประชาชน สร้างความมั่นใจในการแสดงออกมากขึ้นให้เกิดการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการสังเกต การปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นโดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ 2) ด้านจริยธรรม ไม่ประพฤติตนอยู่ภายในกรอบขอบเขตแห่งกฎหมายบ้านเมืองและจารีตประเพณี สร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นโดยยึดถือระเบียบกฎหมาย คำสั่ง ข้อบังคับ เป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ร่วมกิจการให้มีการทำงานร่วมกัน 3) ด้านภาวะผู้นำ ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีขาดความสามารถในการบริหารงานเป็นทีมงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย สร้างความเป็นกันเองให้กับทุกคนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ควรจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงานและร่วมกิจการในการทำงานให้มากขึ้น

References

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

วศิน อินทสระ. (2518). จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มิตรนราการพิมพ์.

วริยา ชินวรรณโณ และคณะ. (2546). จริยธรรมในวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ชวนพิมพ์.

พระราชมุนี (ประยุทธ์ปยุตฺโต). (2538). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2526). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอส.เอ็ม.เอ็ม.

พระมหาไชยสยาม มาหลี. (2550). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อหลักจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ไพรเพชร จิตตุรงค์อาภรณ์. (2551). ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

น้ำเพชร เอียงสันต์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ภูรีดา คุณชื่น. (2551). ความคาดหวังของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองที่มีต่อคุณลักษณะของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

น้ำฝน สุวรรณเชษฐ. (2551). นักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ : ศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานเทศบาล จังหวัด สมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ฉวีวรรณ กลิ่นชุมแสง. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุขลักษณ์ จินดาอินทร์. (2551). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกวุฒิสภาตามทัศนะของประชาชน จังหวัดกำแพงเพชร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชำนาญ จิราสุคนธ์. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สัญชัย หลีอาภรณ์. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-20