ศึกษาเปรียบเทียบญาณวิทยาของอิมมานูเอล คานท์กับญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • บุญนาถ สกุลอิทธิมรรค

คำสำคัญ:

ญาณวิทยา, พุทธปรัชญาเถรวาท, ภาวนามยปัญญา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาญาณวิทยาของอิมมานูเอล คานท์ 2) เพื่อศึกษาญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบญาณวิทยาของอิมมานูเอล คานท์ กับญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาท
ผลการวิจัย พบว่า 1) ญาณวิทยาของอิมมานูเอล คานท์ ได้บูรณาการแนวคิดเรื่องความรู้ก่อนประสบการณ์ของสำนักเหตุผลนิยมเข้ากับความรู้หลังประสบการณ์ของสำนักประสบการณ์นิยม เรียกว่า ความรู้อะพริโอริแบบสังเคราะห์ เนื่องจากความรู้ของมนุษย์จำต้องอาศัยกระบวนการแปลความหมายและตีความจากกลไกทางจิต ความรู้ของมนุษย์จึงมีจำกัด ไม่สามารถรู้อะไรเกินกว่าประสบการณ์อันจำกัดอยู่ภายใต้โลกแห่งปรากฎการณ์ได้ 2) พุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งความรู้เป็น 2 ระดับ คือ ความรู้ทางโลก (โลกิยะ) และความรู้เหนือโลก (โลกุตตระ) ซึ่งเกิดจากการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาที่ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา 3) ผลเปรียบเทียบญาณวิทยาของอิมมานูเอล คานท์ กับญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาท พบว่า ความหมายของความรู้คือการที่จิตจัดเพทนาการให้เป็นระบบ ส่วนความหมายของความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาท คือปัญญา บ่อเกิดความรู้ของคานท์ มาจากประสบการณ์ทางผัสสะ โดยผ่านทางอายตนะทั้ง 6 ร่วมกับความรู้ในตน ซึ่งติดตัวมาแต่กำเนิด ส่วนบ่อเกิดความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาท เกิดจากประสบการณ์ทางผัสสะเหมือนกัน แต่ต้องอาศัยการคิดใคร่ครวญโดยแยบคายที่สะสมมา กระบวนการความรู้ คานท์เริ่มจากประสาทสัมผัสแบบบริสุทธิ์ของผัสสะ แบบบริสุทธิ์แห่งความเข้าใจ ความรู้สูงสุด ส่วนกระบวนการความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาทเริ่มจากประสาทสัมผัสแล้วอาศัยการไตร่ตรองแบบแยบคายโดยอาศัยปัจจัยภายนอก นำมาคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้วยปัญญา จนเห็นความจริงอันสูงสุด อาศัยการไตร่ตรองแยบคายโดยอาศัยปัจจัยภายนอก และการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ด้วย แล้วยกระดับเป็น โลกุตตระ ระดับความรู้ คานท์แบ่งความรู้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับประสบการณ์ทางผัสสะ ทางจิต ระดับเหนือประสบการณ์หรือเหตุผล ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งความรู้เป็น 6 ระดับ คือ ระดับความรู้สึก สัญญา ทิฐิ อภิญญา ญาณ สัมมาสัมโพธิญาณ เกณฑ์การตัดสินความรู้ คานท์ใช้ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส ซึ่งเป็นกลไกของจิต ที่ผลิตความรู้ให้กับมนุษย์เป็นตัวตัดสิน ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทใช้ภาวนามยปัญญา เพราะเป็นประสบการณ์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงสุด

References

กานต์ชัย จิรกนฺโต (แสงแก้ว), พระมหา. (2543). มโนทัศน์กับสิ่งที่มีอยู่จริงตามทรรศนะของพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กีรติ บุญเจือ, ศ. (2538). ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

กีรติ บุญเจือ, ศ. (2545). เริ่มรู้จักปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

เกษม สญฺญโต (ลักษณะวิลาส), พระมหา. (2532). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องทุกข์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2547). วารสารพุทธศาสน์ศึกษา. กันยายน ? ธันวาคม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2538). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : หจก. แสงจันทร์การพิมพ์.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2539). ญาณวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดับบลิว ราหุล, พระ ดร. (2547). พระพุทธสอนอะไร. แปลโดย ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดือน คำดี, รศ.ดร.. (2526). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่ . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

เดือน คำดี, รศ.ดร.. (2526). พุทธปรัชญา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตรี นาคปทีป. (2564). บาลีอภิธานับปปทีปิกาพร้อมทั้งสูจิ. กรุงเพทมหานคร : โรงพิมพ์ไท.

ธรรมปิฎก, พระ. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ธรรมปิฎก, พระ. (2544). พุทธธรรม (ฉบับเดิม) .กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สหธรรมิก.

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2544). จริยศาสตร์ตะวันตก ค้านท์ มิล ฮอบส์ รอล ซาร์ทร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญมี แท่นแก้ว และคณะ. (2535). ญาณวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ธนะการพิมพ์.

บุญมี แท่นแก้ว และคณะ. (2545). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำหนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุญมี แท่นแก้ว และคณะ. (2538). พุทธศาสน์-ปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2548). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำหนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

พิสิฐ สุขสกล. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับศีลธรรมตามจริยศาสตร์ของคานท์กับพุทธจริยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาษิต สุภาสิโต (สุขวรรณดี), พระมหา. (2542). ชีวิตในอุดมคติตามทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2525). พระไตรปิฏกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มานพ กวิวํโส (นักการเรียน), พระมหา. (2535). การศึกษาเชิงวิเคราะห็เรื่องญาณวิทยาในพุทธปรัชญา. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน, กอง. (2530). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ราชบัณฑิตยสถาน, กอง. (2543). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษไทย. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชวรมุนี, พระ. (2529). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์พิมพ์เผยแพร่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.

ลักษณ์วัต ปาละรัตน์. (2542). ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?. วิทยานิพธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า, กรมพระยา. (2520). ธรรมวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 23, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ, (2540). หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิทย์ วิศเวทย์. (2547). ทัศนะทางอภิปรัชญาในพุทธศาสนาเถรวาท. พุทธศาสตร์ศึกษา (กันยายน ? ธันวาคม), กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมภาร พรมทา. (2542). ?พุทธปรัชญา? มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมัคร บุราวาส. (2542). ปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

สมัคร บุราวาส. (2544). วิชาปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

สุเชาวน์ พลอยชุม. (2541). เอกสารประกอบคำบรรยายวิชาพุทธปรัชญาในพระสุตตันตปิฎก. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (พระนักศึกษา รุ่นที่ 11 ปี 2541 จัดรวบรวมเข้าเล่ม).

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2545). วิทยปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.

แสง จันทร์งาม. (2535). พุทธศาสนาวิทยา. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.

โสภณคณาภรณ์, พระ. (2529). ธรรมปริทัศน์ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ห้าง หุ้นส่วนจำกัด ศิวพร.

อุทัย อุทโย (ศิริภักดิ์), พระมหา. (2537). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องตัณหาในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

Etienne Gilson, and thomas Langan. (1963). Modern Philosophy :Descartes To Kant. N.y.: Colonial Press Inc.

H.J. PATON,. (1967). The Categorical Imperative. New York : Harper & Row, Publishers, Inc.

Immanuel Kant. (1960). Religion within the Limite of Reason Alone, N.Y. : Harper & Row, Pulishers, Inc.

Immanuel Kant. (1970). Critique of pure Reason quoted in Horman Kemp Smith, Immanuel Kant ?s Critique of Pure Reason. London : Macmillan &Co. ltd.

John Locke. (1968). An Essay Concerning Human Understoanding qouoted in A.j. Ayer Bristish Empirical Philosohpers, Mass : Murray Printing Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25