ความคิดเห็นของอุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อการดำเนินงาน ในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เสริบศักดิ์ แสงสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุบาสกอุบาสิกา, ความคิดเห็น, สำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ของอุบาสกและอุบาสิกาที่มี เพศ อายุ การศึกษาและสถานภาพสมรสที่ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของอุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อุบาสกอุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว จังหวัดราชบุรี ได้กลุ่มตัวอย่าง 159 คน ใช้การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยวิธีการเลือกประชากรแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) 2) สถิติเชิงอนุมาน คือการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA or F-test) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. อุบาสกอุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อยแล้ว พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ด้านวิทยากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเงินทุน และด้านสถานที่ ตามลำดับ 2. อุบาสกอุบาสิกาที่มีเพศ อายุ การศึกษา และสถานภาพสมรสต่างกันมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว ตำบลแก้มอ้น อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โดยรวมทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน 3. อุบาสกอุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมถิ่นกาขาว มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ด้านสถานที่ คือ ควรเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในห้องน้ำ ที่ยังไม่เพียงพอต่อผู้มารับบริการ2) ด้านวิทยากร คือ ควรมีวิทยากรเพิ่มเติมเพื่อแบ่งเบาภาระวิทยากรหลัก 3) ด้านเงินทุน คือ ควรมีการจัดหาเงินทุนที่สนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน 4) ด้านการบริหารจัดการ คือ ควรจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเพื่อดูแลหน่วยงานต่าง ๆ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2525). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย (91 เล่ม). พิมพ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรีกรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดรุณี ญาณวัฒนาและคณะ. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด: ศึกษาเฉพาะกรณีวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี. รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

บุญชม ศรีสะอาด,รศ.ดร. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25