ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, หลักธรรมาภิบาล, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ของประชาชนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษา ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งและอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 378 คน แบ่งประชากรออกเป็นชั้นภูมิ แต่ละชั้นภูมิใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากทดสอบแล้วพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheff?) วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร รวม 6 ด้าน แปลค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านหลักนิติธรรม รองลงมา ได้แก่ ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักคุณธรรม และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ 2) ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า ประชาชนที่มีประชาชนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ และอายุต่างกันต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า 1) ด้านหลักนิติธรรม ความถี่สูงสุดได้แก่ อบต.ควรบริหารงานตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด 2) ด้านหลักคุณธรรม ความถี่สูงสุดได้แก่ อบต.ควรทำให้องค์กรปลอดจากการทุจริตคอรัปชั่น 3) ด้านหลักความโปร่งใส ความถี่สูงสุด ได้แก่ อบต.ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถรับรู้การปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงาน 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ความถี่สูงสุดได้แก่ อบต.ควรประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น 5) ด้านหลักความรับผิดชอบ ความถี่สูงสุดได้แก่ อบต.ควรให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตประชาชน และการสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ 6) ด้านหลักความคุ้มค่า ความถี่สูงสุดได้แก่ อบต.ควรให้ความสำคัญการวางแผนการปฏิบัติงานลดความบกพร่องผิดพลาดในการบริหาร
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชน. เอกสารประกอบการสัมมนาวันสิ่งแวดล้อมไทย ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์, 4-6 ธันวาคม 2543. (อัดสำเนา).
กลุ่มงานฝึกอบรมการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ วช. (2547). ตำราชุดฝึกอบรมหลักสูตรนักวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
กาบแก้ว เปี่ยมมหกุล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักปลัดเทศบาลตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
กิติยา สยามประโคน. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาลของนายกเทศมนตรีตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
เกรียงไกร เจริญวงศ์ศักดิ์. ?ธรรมรัฐภาคการเมือง : บทบาทภาคีเมือง.? รัฐสภาวารสาร 46, 2541. : 37.
โกวิทย์ พวงงาม. ผศ., ดร. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
โกวิทย์ พวงงาม. ผศ.,ดร. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.
โกวิทย์ พวงงาม. ผศ.,ดร. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.
จันทรานี สงวนนาม. (2546). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง. ม.ป.ท.. (อัดสำเนา).
จามรี พิลาสมบัติ. (2550). ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการค้นคว้าศึกษาแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉลอง มาปรีดา. (2537). คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. ฉะเชิงเทรา : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะวิชาครูศาสตร์วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ศ., ดร. (2544). ธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระบวนการทางด้านสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : เดือนตุลาการพิมพ์.
ชาญชัย เทียนไทย. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู และคณะ. (2545). แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2548). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการพัฒนาและการพัฒนาการบริหาร เล่ม 1.นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถวิลวดี บุรีกุล.ดร. และวราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ.รศ.,ดร. (2550). ประสบการณ์วิชาชีพบริหารรัฐกิจ : การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิวา บุญดำเนิน. (2539). ความคิดเห็นของสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล และกรรมการสุขาภิบาลต่อปัญหา และอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธงชัย สันติวงษ์. (2541). ทฤษฎีองค์การและการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.
ธีระพล อรุณะกสิกร และคนอื่นๆ. (2549). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. และคณะ. (2546). การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรง : ข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูปโดยองค์รวม. กรุงเทพมหานคร : เอกสารเผยแพร่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทพล พงศธรวิสุทธิ์. (2548). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นำชัย ทนุผล. (2540). วิธีการเตรียมโครงการวิจัย = How to prepare a research proposal. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นิภา เมธธาวีชัย. (2543). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมภิบาล Good Governance. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญูชน.
บัญญัติ พุ่มพันธ์. (2548). อบต.ของเรา : ท้องถิ่นของเรา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บพิธการพิมพ์ จำกัด.
บัญญัติ พุ่มพันธ์. (2549). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท.ของเรา องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ). เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ปธาน สุวรรณมงคล. รศ.,ดร. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย ในการบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษร.
ประกอบ กุลเกลี้ยง และคณะ. (2545). การบริหารโดยองค์คณะบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
ประพันธ์ สุริหาร. (2549). หลักและระบบบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประมวล รุจนเสรี. (2542). การบริหารการจัดการที่ดี good governance. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
ประเวศ วสี. นายแพทย์. (2541). แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติ ในธรรมาภิบาลกับคอรัปชั่นไทย. กรุงเทพมหานคร : หมอชาวบ้าน.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด).กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พิมพ์ลดา ธีระมนต์ประณีต. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ภูวดล จันทรศร. (2539). ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรโดยวิธีใช้เทปบันทึกเสียงผ่านหอกระจายข่าวในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รสคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. ดร. (2549). การบริหารท้องถิ่น. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
วิไล สมัญญา. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสามแวง อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. (2547). การวิจัย. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สนิท จรอนันต์. (2548). ความเข้าใจเรื่องการปกครองท้องถิ่น (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด.
สมชัย วงษ์นายะ.รศ., ดร. และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์.รศ., ดร. (2551). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิจัย. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษากำแพงเพชร. (อัดสำเนา).
สมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. (2544). องค์การบริหารส่วนตำบลในอุดมคติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คลังนาวิทยา.
สวัสดิ์ นาสมฝัน. (2550). ความคิดเห็นของผู้ต้องขังที่มีต่อการปฏิบัติงานจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเรือนจำกลางขอนแก่น. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2542). เอกสารประกอบการบรรยายการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน. ม.ป.ท.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กองกลางสำนัก ก.พ.
สุชา จันทร์เอม. (2542). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
สุดจิต นิมิตรกุล. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีในการปกครองที่ดีGoodGovernance. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์/
สุเทพ คุณกิติ. (2548). หลักธรรมาภิบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สุโท เจริญสุข. (2543). ความคิดเห็น. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
เสกสรร วัฒนพงษ์. (2542). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการประสานงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร ในเขตพื้นที่ทางหลวง หมายเลข 34 บางนา-บางปะกง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง. (2552). บรรยายสรุป. กำแพงเพชร : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง.
อนุชา ฮุนสวัสดิกุล และคนอื่นๆ. (2548). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร รูปแบบและวิธีการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์จำกัด.
อรพินท์ สพโชคชัย และคณะ. (2543). แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารงานส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.