การจัดสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี
คำสำคัญ:
การจัดสวัสดิการ, ผู้ต้องขัง, เรือนจำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการจัดสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี คำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.743
ผลการวิจัย พบว่า การจัดสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านกีฬาและนันทนาการ รองลงมาคือด้านอนามัย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการศึกษา ผลการเปรียบเทียบระดับการจัดสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานีที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการจัดสวัสดิการไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางปรับปรุงสวัสดิการของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี ได้แก่ เรือนจำกลางอุดรธานีควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการสิทธิสวัสดิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสิทธิสวัสดิการเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กรมราชทัณฑ์. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมราชทัณฑ์.
กรมสุขภาพจิต, โรงพยาบาลศรีธัญญา. (2559). แนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายคนพิการทางจิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (ม.ป.ป). คู่มือคนพิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทนิตย์ ภิธรรมมา. (2561). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการด้านสิ่งจำเป็นพื้นฐานแก่ผู้ต้องขังชาย : กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.
ปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2562). การจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 74-89.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546. (2546, 1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120, ตอนที่ 94 ก : 6-20.
สุดารัตน์ วงษ์ศรีวอ. (2553). คุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อภิญญา เวชยชัย และศิริพร ยอดกมลศาสตร์. (2547). สวัสดิการสังคมฉบับชาวบ้าน: แนวคิด นโยบาย แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.