การพัฒนาระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 สำหรับโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษา โรงเรียนสุวรรณวิจิตรวิทยา ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระยูง ชยานนฺโท (ชวน) นิสิตหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการสอน, วิชาเศรษฐศาสตร์, หลักปัญญา 3

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 (2) พัฒนาระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 (3) ทดสอบประสิทธิภาพรับรองระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุวรรณวิจิตรวิทยา ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน

????????? ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 มี 5 ส่วนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาระบบการสอน ได้แก่ (1) ตัวควบคุม (Control) (2) ปัจจัยนำเข้า (Input) (3) กระบวนการ (Process) (4) ผลลัพธ์ (Output) (5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) 2. การพัฒนาระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 มีขั้นตอนดังนี้ คือ ศึกษาองค์ความรู้ด้านระบบ 5 ส่วน ได้แก่ (1) ตัวควบคุม (Control) (2) ปัจจัยนำเข้า (Input) (3) กระบวนการ (Process) (4) ผลลัพธ์ (Output) (5) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) กำหนดเนื้อหาวิชา พัฒนาวิธีสอนตามหลักปัญญา 3 คือ (1) สุตมยปัญญา ขั้นแสวงหาความรู้ (Seek Knowledge) (2) จินตามยปัญญา ขั้นการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) (3) ภาวนามยปัญญา ขั้นลงมือปฏิบัติ (Practical Steps) 3. การทดสอบประสิทธิภาพรับรองระบบ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน = 13.80 หลังเรียน = 27.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน = 3.089 หลังเรียน = 1.756 ผลทดสอบค่า t ? test ก่อนเรียนและหลังเรียน -30.454 ค่าระดับทางสถิติที่ .000 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ดีมาก โดยได้ค่าเฉลี่ย 4.77 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03 และผลการประเมินรับรองระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน พบว่า การประเมินได้ค่าเฉลี่ย 4.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03 ผลโดยรวม ระบบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ตามหลักปัญญา 3 ที่พัฒนาขึ้นนี้ได้รับเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก

References

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). การขับเคลื่อนนโยบาย สพฐ. ปี 2550. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2558). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

ณรงค์ พ่วงพิศและคณะ. (2551). สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ม. 5. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). พัฒนาตน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นโปเลียน ฮิลล์. (2541). ปรัชญาชีวิต: ศาสตร์แห่งความสำเร็จเล่ม 1: ประสงค์ อาสา (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สายส่งศึกศิต.

สุรพล ไกรสราวุฒิ. (2552). คู่มือปัญญาในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พุทธทาสภิกขุ. (2525). บรมธรรมภาคต้น. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.

พระพุทธโฆสเถระ. (2547). วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง.

จักรแก้ว นามเมือง. (2563). พระพุทธศาสนาที่เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญญารัตน์ แสนสระดี. (2564). แนวการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligences). พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. (2564). ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences). กรุงเทพฯ: บริษัท มายดีเอ็นเอ จำกัด.

พรพิไล เลิศวิชา. (2563). เด็กไทยใครว่าโง่ เปลี่ยนการเรียนรู้ของเด็กไทยให้ทันโลก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สมบัติ นพรัก. (2564). การสร้างปัญญาจากจิตสู่การสอน. พิษณุโลก: พิมพ์ที่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชะเลงศักดิ์ เชื้ออรวรรณ. (2564). ไขความการฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์.

ศศิมา สุขสว่าง. (2564). ทักษะการคิด (Thinking Skill). กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่ บริษัท HCD Innovation CO.,Ltd.. Human Creativity Development (HCD) Innovation.

จิราถรณ์ ศรีเมืองคุณ. (2564). 7 ทักษะการคิด (7 Thinking Skills). กรุงเทพฯ: พิมพ์ที่บริษัท HCD Innovation CO.,Ltd., Human Creativity Development (HCD) Innovation.

ปสุตา แฝงสาเคน. (2564). Active Learning การเรียนรู้แบบลงมือทำ. มหาสารคาม: พิมพ์ที่โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองมหาสารคาม.

รังสรรค์ พิมพ์ช่างทอง. (2553). วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). พุทธวิธีการสอน. พระนครศรีอยุธยา: พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). การจัดการศึกษา 4.0 กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (มสธ).

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ สูงประเสริฐกุล. (2558). การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. สุรินทร์: พิมพ์ที่ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.

พัชรินทร์ โคตรสมบัติ. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อเสริมทักษะการคิดในรายวิชาสัมมนาสังคมศึกษา ของนิสิตสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่).

พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญา ในการคิดวิเคราะห์ด้วยหลักพุทธธรรม ของนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ดุษฎีนิพนธ์คณะสังคมศาสตรบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนิสรา อริยะเดชช์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้บูรณาการหลักไตรสิกขา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิจัยในชั้นเรียน (ครูชำนาญการพิเศษ : โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2564). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์คณะมนุษยศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2564). การพัฒนารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สายัณห์ วงศ์สุรินทร์และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์คณะครุศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เมธินี วงศ์วานิช. (2564). การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา: การสังเคราะห์งานวิจัย. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2564). การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของนักศึกษาพยาบาล. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล. (2564). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรัญญา เนตรธานนท์. (2564). กระบวนการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2564). รูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน : นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เอื้อมอร ชลวร. (2564). การพัฒนาปัญญาในพระพุทธศาสนาเถรวาท. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29