แนวทางการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต ๓ ของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต ๑

ผู้แต่ง

  • นฤมล ทุมมี ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พีรวัฒน์ ชัยสุข ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหารความโปร่งใส, หลักสุจริต ๓, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นการบริหารความโปร่งใส ของโรงเรียนขยายโอกาส 2. เพื่อศึกษาวิธีการการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต 3 ของโรงเรียนขยายโอกาส 3. เพื่อเสนอแนวทางการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต 3 ของโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือ คือแบบสอบถาม ประชากรจำนวน 226 คน และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดเรียงอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพความต้องการจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1. ด้านพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยงาน (PNI modified=0.057) 2. ด้านมีความรับผิดชอบตรงไปตรงมา (PNI modified=0.051) 3. ด้านการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงาน (PNI modified =0.038)? 2. ผลการศึกษาวิธีการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต 3 ของโรงเรียนขยายโอกาส จากผลการสัมภาษณ์วิธีการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต 3 พบว่า ด้านพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยงานควรมีแผนกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ด้านมีความรับผิดชอบตรงไปตรงมาควรตั้งเป้าหมายในการทำงานแบ่งหน้าที่ชัดเจน ด้านการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานจะต้องดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานพบว่าหากใช้หลักสุจริต 3 มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทั้ง 3 ด้านก็จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย ที่วางไว้ 3. แนวทางการบริหารความโปร่งใสตามหลักสุจริต 3 ของโรงเรียนขยายโอกาส ด้านพร้อมรับการตรวจสอบจากทุกหน่วยงาน ด้านมีความรับผิดชอบตรงไปตรงมา ด้านการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงาน โดยใช้หลักสุจริต 3 ตามองค์ความรู้

References

พระชัยณรงค์ วิทิโต (ร่องมะรุด). (2557). การประยุกต์หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเด่นชัย เมตติโก (มีสนาม). (2556). แนวคิดเรื่องกายสุจริตในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศุภวัฒน์ ชุติมนโต (สุขดำ. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบ แนวความคิดเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์ ในทรรศนะของพุทธปรัชญาเถรวาทกับ ซิกมันด์ฟรอยด์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นักวิชาการ. ความโปร่งใส (ทางการเมือง). (2565). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki.

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29