การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่าย ?ช้างคู่? สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, ผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 และ (2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ?จำแนกตามประสบการณ์และระดับการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วย ครูในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 125 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 91 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้น ได้แก่ (1) ศึกษา ปัญหาการวิจัย (2) การออกแบบการวิจัย (3) การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล (4) การเขียนรายงานการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า (1) การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การมีเป้าหมายเดียวกัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสื่อสารอย่างเปิดเผย และ (2) เปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มเครือข่าย ช้างคู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์และระดับการศึกษา ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
References
กมลชนก ศรีวรรณา. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลําเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อําเภอ เมืองตราด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรชัย วิภูอุปรโคตร. (2564). การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารปัญญาภิวัฒน์.13(3): กันยายน-ธันวาคม, 320-332.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2550). การทางานเป็นทีม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
สุนทร พลวงศ์. (2551). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลำกรในสังกัดกองการศึกษาทาสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.
Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
McGregor, D., & Burvis. (1970). Team leadership in action. Saint Louise: The C.V. Mos.
Romig, D.A. (1996). Breakthrough Teamwork: Outstanding Result Using Structured Teamwork. Chicago: Irwin.
Thassopon, T. and Songyu, C. (2024). Empowering work-life balance of teacher?s happiness in primary school. (Proceeding). The 4th International conference on Education 2024, 24 - 25 February 2024 Chateau de khaoyai hotel & resort pakchong Nakhonratchasima, Thailand. Organized by Education sub-committee of Association of Private Higher Education Institution of Thailand under the Patronage of Her Royal Highness Princess Mahachakri Sirindhorn (APHEIT)
Woodcock, M., & Francis, D. (1994). Team building strategy. Hampshire: Gower Publishing.