การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
คณะกรรมการหมู่บ้าน, การปฏิบัติหน้าที่, ประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในเขตอำเภอผาขาว? จังหวัดเลย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ และเพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอผาขาว จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอผาขาว จังหวัดเลย จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติค่า (T-Test) และใช้สถิติเอฟ (F-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
- การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.50, S.D.= 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (= 3.91, S.D.= 0.63) รองลงมาคือด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ (= 3.79, S.D.= 0.41) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและด้านสาธารณสุข (= 3.04, S.D.= 0.42)
- ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในเขตอำเภอผาขาว จังหวัดเลย ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอผาขาว จังหวัดเลย ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านก็ไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอผาขาว จังหวัดเลย ได้แก่ ส่งเสริมทางด้านเกษตรกรรมโดยหมอดินควรมีบทบาทในการส่งเสริมและแนะนำต่อภาคการเกษตร
References
กรมการปกครอง. (2539). คู่มือพนักงานส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.กระทรวงมหาดไทย. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้านการปฏิบัติหน้าที่และการประชุมของ คณะกรรมการ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2551.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง หน่วยที่ 1-7 (หน้า 124-125). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา ปินตา. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีกองทุนหมู่บ้านในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุนทร ปัญญะพงษ์. (2555). ความขัดแย้งระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดการทรัพยากรน้ำจาก เขื่อนลำปะทาว อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 8(1),115-135.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). กรุงเทพฯ, 2556.
อภัย โพธิ์ศรี. (2550). ผลกระทบของการกระจายอำนาจต่อการดำเนินงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน :กรณีศึกษาตำบลบ้านโนน กิ่งอำเภอซาสูง จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต. สาขานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1996). The Balanced Scorecard : translating strategy in action. Boston : Harvard Business School Publishing Corporation.
Taro Yamane(1973 ).Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and Row Publications.