วิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับบารมีในพุทธศาสนามหายาน

ผู้แต่ง

  • วิริยา ศุภประสิทธิ์ สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บารมี, โพธิจิต, พระโพธิสัตว์, พุทธศาสนามหายาน

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติบารมีในพระพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งบารมีหรือปารมิตาเป็นหลักคำสอนที่เป็นหลักการสำคัญหรือเป็นหัวใจของความเป็นชาวพุทธมหายาน หลังการแยกนิกายระหว่างเถรวาทและมหายานในช่วงหลังพุทธปรินิพพานส่งผลให้เกิดการตีความและการปฏิบัติแตกต่างกัน ซึ่งในพุทธศาสนามหายานเชื่อว่ามนุษย์มีโพธิจิตในทุกคนซึ่งเป็นจิตใจที่มุ่งมั่นสู่การช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นจากทุกข์ โดยหากมีปณิธานผ่านการการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติบารมีทั้งสิบ (ปารมิตา10) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายทางจิตวิญญาณสูงสุดที่เรียกว่า "ฝั่งโน้น" ?ได้แก่ ทานปารมิตา, ศีลปารมิตา, กษานปารมิตา, วีรยปารมิตา, ธยานปารมิตา, ปรัชญาปารมิตา, อุปายเกาศัลยปารมิตา, ปณิธานปารมิตา, ????พลปารมิตาและชญาณปารมิตาซึ่งพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญจากปณิธานที่แท้จริงเพื่อถึงภูมิแต่ละขั้นแสดงถึงการพัฒนาและการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในแต่ละระดับจนถึงการบรรลุโพธิญาณ ดังนั้นหากวิเคราะห์แนวทางการบำเพ็ญบารมีของพุทธศาสนามหายานที่ลึกซึ้งจากโพธิจิตที่มีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์สังคมก่อนประโยชน์ตนเป็นชีวิตที่เป็นประโยชน์โดยขจัดความขัดแย้งทั้งภายใน(จิตของผู้ปฏิบัติ)และภายนอก(มุ่งขจัดปัดเป่าความทุกข์ของสรรพสัตว์ให้หมดไป)หาใช่เป็นชีวิตที่มุ่งกอบโกยผลประโยชน์หรือความสุขส่วนตน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของแนวคิดการบำเพ็ญบารมีในพุทธศาสนามหายาน

References

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2557). เปรียบเทียบคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุวิญ รักสัตย์. (2552). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม.

มนัสวี ศรีนนท์. (2564). แนวคิดและหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนามหายาน. วารสารปารมิตา ปีที่3 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) ศูนย์วิจัยธรรมศึกษาสํานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2543). พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระมหาวิชาญ กำเนิดกลับ. (2549). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โพธิจรรยาวตาร. ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพจน์ อัศววิรุฬหการ. (2557). โพธิสัตวจรรยา: มรรคาเพื่อมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ, (2522). ประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บรรณาคาร.

เผยแพร่แล้ว

2025-06-29