ศึกษาวิเคราะห์ระบบการศึกษา: ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • อริสา สายศรีโกศล คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • มนัสวี มนต์ปัญญาวัฒนา สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ระบบการศึกษา, การพัฒนาการศึกษา, การศึกษาที่พึงประสงค์

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้ศึกษาระบบการศึกษาไทยในประเด็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่พึงประสงค์ จากการศึกษาพบว่า ปรัชญาการศึกษาไทยจำแนกเป็น 4 ยุค คือ 1) ยุคสมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น 2) ยุคปรับปรุงการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 3) ยุคสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง และ 4) ยุคสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ทั้งสี่ยุคสมัยนี้ถือเป็นความแตกต่างด้านปรัชญาการศึกษาไทย โดยเฉพาะในยุคที่ 4 ที่มีลักษณะเป็นการศึกษาสมัยใหม่ตามแนวคิดพิพัฒนาการนิยม อัตถิภาวนิยมและปรัชญาวิเคราะห์ หากเปลี่ยนเทียบกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุคที่ 4 นี้ถือเป็นคลื่นลูกที่ 5 ที่เป็นการศึกษายุคโลกาภิวัตน์หรือศตวรรษที่ 21 ดังนั้น จะเห็นว่า ตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้กำหนดแผนการศึกษาแห่งชาติซึ่งในปัจจุบันเป็นฉบับที่ 10 แผนเหล่านี้กำหนดให้พัฒนาระบบการศึกษาหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่ระบุถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 8 ประการ การจัดการศึกษาในทุกช่วงชั้นจึงต้องคำนึงถึงคุณลักษณะดังกล่าว ถึงกระนั้น การจัดระบบการศึกษาไทยก็เกิดปัญหาที่สามารถสรุปได้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านผู้ปฏิบัติการ 3) ด้านระบบการศึกษา ทั้งนี้ เป็นเพราะความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงนักเรียนและผู้ปกครองไม่สามารถนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม จึงทำให้เกิดปัญหาโดยภาพรวม คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาตามมา ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้สามารถสรุปเป็น 2 แนวทาง คือ 1) แนวทางด้านนโยบาย 2) แนวทางด้านความร่วมมือในการแก้ไข องค์ความรู้ที่ค้นพบจากบทความนี้ คือ การได้กรอบแนวคิดที่เป็นปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาที่พึงประสงค์บนฐานคิดของปรัชญาการศึกษาไทยยุคที่ 4 ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุคโลกาภิวัตน์

References

ดีเอ็นเอ. (2528). วิกิพีเดีย. สารานุกรมเสรี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http//th.wikipedia.org/wiki/ดีเอ็นเอ (2008, December 22).

สิริเพ็ญ พิริยะจิตรกรกิจ. (2552). ความรู้ ความเชื่อ และการสร้างสันติภาพ. ใน การสัมมนาวิชาการประจำปี 2552 ของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ร่วมกับโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วันที่ 21 ตุลาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต.

สารานุกรมปรัชญาออนไลน์ฉบับสังเขป. ก่อนประสบการณ์ ? หลังประสบการณ์. http://www.parst.or.th/philospedia/aboutus.html.

ศิรประภา ชวะนะญาณ. (2552) ดุษฎีนิพนธ์การให้เหตุผลสนับสนุนความรู้ก่อนประสบการณ์. คณะ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

Kant, I. 1781/1787. Critique of Pure Reason. Trans. N. Kemp Smith. London: Macmillan, 1963. (งานคลาสลิคเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างข้อความก่อนประสบการณ์-หลัง ประสบการณ์ และข้อความวิเคราะห์-ข้อความสังเคราะห์).

เผยแพร่แล้ว

2025-06-29